มูลนิธิพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2530 โดย นายชำนาญ พจนา อธิบดีกรมแรงงาน ท่านได้ยื่นคำร้องขออนุญาตจัดตั้งมูลนิธิพัฒนาฝีมือแรงงาน ต่อสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และได้รับการอนุญาตตามใบอนุญาตเลขที่ 178/2531 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 มีสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ณ บ้านเลขที่ 4613 ถนนมิตรไมตรีแขวงดินแดง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
ผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาฝีมือแรงงาน |
ต่อมาได้ยื่นเรื่องราวขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิพัฒนาฝีมือแรงงาน” เพื่อให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทุนเป็นค่าใช้จ่ายแก่ผู้รับการฝึกที่ขาดแคลน และเป็นค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ประสบอันตรายระหว่างรับการฝึก ตลอดจนในด้านการพัฒนาสุขภาพกาย-ใจ และพลานามัยของผู้รับการฝึก รวมถึงช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพของผู้รับการฝึกที่จบแล้ว ซึ่งได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมูลนิธิ ในนาม “มูลนิธิพัฒนาฝีมือแรงงาน” หมายเลขทะเบียน 3978 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2531 โดยมีคณะกรรมการเริ่มแรกจำนวน 17 คน ประกอบด้วย
1.นายชำนาญ พจนา ประธานกรรมการ 2.นายฉลอง เศวตวงค์ รองประธาน 3.นายชลินทร์ อมรธรรม กรรมการ 4.นายนิพนธ์ ทวีคูน กรรมการ 5.นายสมพงษ์ สันตะวานนท์ กรรมการ 6.นายวันชัย โหสกุล กรรมการ 7.นายไกรศร พรหมพิทักษ์ กรรมการ 8.นายสมนึก เพ็ญภาคกุล กรรมการ 9.นายทวีสุข ใช้สติ กรรมการ 10.นายวิชัย ชัยชโลธร กรรมการ 11.นายมานะ วงศ์ศิริมาะ กรรมการ 12.นายณัฐพล ชวลิตธนวงศ์ กรรมการ 13.นางอัมพร จุณานนท์ เลขานุการ 14.นายสมชาติ เลขาลาวัณย์ ผู้ช่วยเลขานุการ 15.นายศิริ สุวรรณวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ 16.นางสาวสุรางค์รัตน์ รักราขการ เหรัญญิก 17.นางพรรษพร อยู่ทรัพย์ ผู้ช่วยเหรัญญิก
|
ทำเนียบผู้บริหารมูลนิธิพัฒนาฝีมือแรงงาน นายชำนาญ พจนา ๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๐ - ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๓๒ นายศิริ เกวลินสฤษดิ์ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒ - ๓๑ มกราคม ๒๕๓๔ นายประสงค์ รณะนันทน์ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ - ๓๑ กันยายน ๒๕๓๕
๑๔ กันยายน ๒๕๓๕ - ๘ มกราคม ๒๕๔๑
๙ มกราคม ๒๕๔๑ - ๑๗ เมษายน ๒๕๕๑
๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ - ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ (รักษาการประธานมูลนิธิฯ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๕ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖)
๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ - ปัจจุบัน |
วัตถุประสงค์
มูลนิธิพัฒนาฝีมือแรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นทุนค่าใช้จ่ายแก่ผู้เข้ารับการฝึกที่ขาดแคลน และเป็นค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ประสบอันตรายระหว่างการฝึก
ตลอดจนในด้านการพัฒนาสุขภาพทางจิตใจและพลานามัย ช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพของผู้เข้ารับการฝึกที่จบแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
วัตถุประสงค์
1.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่กำลังแรงงานของประเทศ
2.ส่งเสริมการพัฒนาบุคคลากรซึ่งทำหน้าที่ในการพัฒนาฝีมือแรงงานขององค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน
3.ส่งเสริมสนับสนุนให้บริการด้านการจัดฝึกอบรมและบริหารพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่องค์กรรัฐและเอกชน
4.ร่วมมือกับองค์กรรัฐและเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่กำลังแรงงานและพัฒนาบุคคลากรในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
5.ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือดำเนินการเพื่อสาธารณะประโยชน์
6.ไม่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง